หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สตีฟ จ็อบ อัจฉริยะพลิกโลก



สตีฟ จ็อบ อัจฉริยะพลิกโลก

เมื่อจ็อบอายุห้าขวบ พอลได้ย้ายไปทำงานที่พาโลอัตโต ห่างจากซานฟรานซิสโกไปทางใต้ประมาณสี่สิบนาที พอลเคยเป็นทหารยามฝั่งระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ก่อนที่จะมาเป็นช่างเครื่องและเซลล์แมนขายรถมือสอง ตอนนี้เขาทำงานกับบริษัทการเงิน มีหน้าที่ตามทวงหนี้ เมื่อมีเวลาว่างก็จะซื้อรถเก่ามาซ่อมและขายทำกำไรและเก็บเพื่อเป็นทุนให้จ็อบได้เรียนมหาลัย

จ็อบดีใจที่ได้โตในซาตาคลาราแวลลีย์ ที่เต็มไปด้วยวิศวกรและนักประดิษฐ์ พอลเห็นว่าจ็อบไม่ได้สนใจในเรื่องรถหรือเครื่องยนต์กลไกอะไรต่างๆเหมือนเขา พอลซื้ออิเล็กทรอนิกส์กระจุกกระจิกมาให้จ็อบถอดเล่นและศึกษาตั้งแต่เขายังเรียนหนังสือในโรงเรียน นอกจากนี้จ็อบยังรู้จักกับ แลร์รี่ แลง วิศวกรของ ฮิวเลตต์-แพคการ์ด ซึ่งอยู่แถวบ้านเก่าของเขา จ็อบนับถือเหมือนอาจารย์ แลร์รี่ติดตั้งไมโครโฟนแบบโบราณตรงทางเข้าบ้านโดยไม่ต้องมีเครื่องขยายเสียงอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้จ็อบสนใจมากและนอกจากนี้เขาแนะนำให้จ็อบได้รู้จักกับฮีทคิตส์ ชุดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์พร้อมรายละเอียดที่จะนำมาประกอบเป็นวิทยุหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆได้

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 1997 บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ได้ก่อตั้งอย่างเป็นทางการโดยจ็อบ วอซ และไมค์ มาร์กคูลา ถือหุ้นจำนวนเท่าๆกัน และได้กันส่วนหนึ่งไว้สำหรับคนอื่นๆ จากนั้นเพื่อเสริมทีมให้แกร่งยิ่งขึ้น ไมค์ มาร์กคูลา ก็ได้นำ ไมค์ สกอตต์ เพื่อนเก่าซึ่งเคยทำงานด้วยกันคนหนึ่งเข้ามาเป็นประธาน โดยไมค์คนที่สองนี้เป็นที่รู้จักกันในนาม ‘’สกอตตี้’’ หน้าที่ของไมค์ กสอตต์ คือจัดระเบียบธุรกิจมั่วซั่วในขณะนั้นเสียใหม่ รวมทั้งตัวจ็อบด้วย งานคอมพิวเตอร์แฟร์ทางฝั่งตะวันตกของประเทศจัดขึ้นครั้งแรกในฤดูใบไม้ผลิปี ค.ศ. 1997 พนักงานรุ่นแรกของแอปเปิลพากันเร่งมือสร้างคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทันงาน เมื่อเคสล็อตแรกมาและมีฟองอากาศบนพื้นผิวพลาสติก จ็อบจัดการให้เอากระดาษทรายขัดออกแล้วทาสีใหม่เพื่อให้แน่ใจว่ามันจะดูดี คราวนี้แอปเปิลได้เช่าพื้นที่ด้านหน้าของงาน และนำเสนอตัวเองแบบเฟิร์สคลาส มีการสั่งทำป้ายขนาดใหม่พร้อมโลโก้สีสันสดใสของบริษัทเป็นรูปแอปเปิลถูกกัด เป็นคำพ้องเสียงระหว่างไบต์ bite ที่แปลว่ากัดกับ ไบต์ byte ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับคอมพิวเตอร์สำหรับอักษรหนึ่งตัว มีแอปเปิลทูพร้อมอุปกรณ์ครบครันสามตัวตั้งโชว์ มีผู้สนใจเข้าร่วมงานมากกว่าหนึ่งหมื่นสามพันคน และก็ยากที่จะบอกว่าอะไรน่าประทับใจกว่ากันระหว่างสตีฟ จ็อบในสูทชุดแรกที่ซื้อในชีวิต กับใบสั่งซื้อ300ใบที่ได้รับจากคอมพิวเตอร์ราคาเครื่องละ1298ดอลลาร์ หลังจากที่แทบจะไม่มีเงินเข้าบริษัทเลยในสี่เดือนแรกของปี ค.ศ. 1997 ในที่สุดสิ้นเดือนกันยายน บริษัทเล็กๆของเขาก็ขายคอมพิวเตอร์ได้ทั้งสิ้น 774000ดอลลาร์ และยังบันทึกกำไรในบัญชีเกือบ 4200ดอลลาร์ ในปีแรกที่เริ่มเป็นบริษัทอย่างจริงจัง

ร่ำรวย การรู้ว่าผู้ใช้แอปเปิลมีความจงรักภักดีต่อแบรนด์และบริษัทประสบความสำเร็จมากขนาดไหนทำให้ใครๆก็อยากได้หุ้นของแอปเปิล ในวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1980 หุ้นแอปเปิลคอมพิวเตอร์อิงค์ ได้ออกสู่ตลาดในการขายแก่สาธารณะที่มีมูลค่าสูงเป็น12รองจากครั้งที่ฟอร์ดมอเตอร์นำหุ้นออกสู่ตลาดในปี ค.ศ. 1956 หุ้น 4.6 ล้านหุ้นถูกซื้อเกลี้ยงในราคาหุ้นละ22ดอลลาร์ แต่ความต้องการก็ยังมีอีกมาก จนสุดท้ายหุ้นพุ่งขึ้นไปถึง 29 ดอลลาร์ ในการซื้อขายวันแรก สตีฟ จ็อบ ในวัย15ปี ถือหุ้น15เปอร์เซ็นต์ มีสินทรัพย์ในตอนนี้ทั้งสิ้นมูลค่าเกือบ220 ล้านดอลลาร์ แม้จะแบ่งหุ้นให้ใครต่อใครไปแล้ว วอซก็ยังมีถึง 116 ล้านดอลลาร์ พนักงานแอปเปิลอย่างน้อย 40 คน กลายเป็นเศรษฐีเงินล้าน สำหรับจ็อบ เขาให้หุ้นมูลค่า750,000 ดอลลาร์แก่พ่อแม่ของเขา ทำให้ทั้งสองสามารถจ่ายค่าบ้านที่ติดธนาคารอยู่ไดหมด และได้จัดปาร์ตี้เล็กๆฉลอง ความฟุ่มเฟือยอย่างเดียวของพวกเขาคือการไปล่องเรือสำราญทุกปี นอกนั้นทั้งคู่ก็ใช้ชีวิตปกติธรรมดาเช่นเดิม เงินและความสำเร็จของแอปเปิลทำให้จ็อบกลายเป็นดาราในอีกสองสามปีถัดมา เขาได้ขึ้นปกนิตยสารหลายฉบับในฐานะใบหน้าคนรุ่นนักประดิษฐ์และนักธุรกิจที่นำคอมพิวเตอร์มาสู่มวลชน จ็อบไม่สนใจเงินทอง แต่ไม่ใช่ประเภทที่จะให้ใครไปง่ายๆเหมือนกับวอซ เงินทองไม่ใช่เป้าหมายของเขา และเขาก็ไม่ยอมให้มันเป็นตัวผลักดัน ‘’การเดินทางคือรางวัลชีวิต’’ จ็อบว่า ‘’มันไม่ใช่ความสำเร็จในการทำสิ่งที่เหลือเชื่อ แต่เป็นการทำสิ่งที่เหลือเชื่อวันแล้ววันเล่า และการได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในการทำสิ่งที่เหลือเชื่อ’’

การประสบความสำเร็จของคนเรานั้นมันไม่เหมือนกัน อย่างเช่น การประสบความสำเร็จของ สตีฟ จ็อบ นักประดิษฐ์ระดับโลกและสิ่งประดิษฐ์ของเขาก็เป็นสิ่งที่รู้จักและนิยมมากกับผู้คนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ แต่กว่าที่เขาจะประสบความสำเร็จได้จนถึงทุกวันนี้ เขาก็ต้องประสบกับปัญหามากมาย แต่เขาเป็นคนที่มีความอดทน ความพยายาม และความมุ่งมั่นสูงเขาจึงมีวันนี้ได้ เพราะฉะนั้นเราควรที่จะพยายาม อดทน และมุ่งมั่นให้เหมือน สตีฟ จ็อบ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคหรือเราจะยึดหลักโดยการยกย่องให้ สตีฟ จ็อบ เป็นไอดอล และมุ่งพยายามทำตามฝันของเราให้ประสบความสำเร็จเหมือนเขาให้ได้
     อ้างอิง                




         นางสาววันวิสา  เกตุสมบัติ  เลขที 35 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น