หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ไขรหัสเมืองสฟิงส์



ไขรหัสเมืองสฟิงส์

อียิปต์ในประวัติศาสตร์นั้น มาทำความเข้าใจว่าไม่ใช่ชาวอียิปต์สมัยนี้ ชาวอียิปต์สมัยนี้กับสมัยโบราณไม่ใช่พวกเดียวกัน ชนชาติอียิปต์สมัยโบราณซึ่งเรากำลังจะศึกษาอยู่นี้ เหลือเผาพันธุ์อยู่เพียงน้อย ชนชาติอียิปต์ในปัจจุบันไม่ได้สืบเชื้อสายมาจากอียิปต์โบราณ แต่เป็นชาวอาหรับ แต่สำหรับเรื่องที่ศึกษาในประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องราวกว่า 4,500 ปีก่อนพุทธศักราช แปลว่า เมื่อเริ่มสมัยทองแดง ศักราชเกี่ยวกับประวัติศาสตร์นั้น เพราะมีพยานเห็นความสามารถของชนชาตินั้นอยู่จนบัดนี้ ข้อพิสูจน์ความยิ่งใหญ่ของอียิปต์ที่จัดเป็นสิ่งมหัศจรรย์อันยิ่งใหญ่ของโลก ก็คือ พีระมิด
สำหรับเรื่องนี้เราต้องการรูว่า อารยธรรมของอียิปต์เป็นเช่นไร การแบ่งชนชั้นวรรณะของอียิปต์เป็นอย่างไร การปกครองที่อยู่ในยุคแรกๆของโลกเป็นยังไง โดยเราใช้วิธีการสืบค้นข้อมูลจากหนังภายในห้องสมุดที่มีความเกี่ยวข้องกับอียิปต์และศึกษาเพิ่มเติมจากข้อมูลออนไลน์ เช่น วิกิพีเดีย เป็นต้น สำหรับเรื่องที่สำคัญหรือเรื่องความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ การปกครองของแต่ละชนชั้น ความเชื่อของชาวอียิปต์ และวัฒนธรรมอันสวยงามของพวกเขา และหัวข้อที่น่าสนใจมี ที่ตั้งเมืองอียิปต์  การปกครอง ประชากรและสังคมอียิปต์ ความเชื่อและวัฒนธรรม

ภูมิประเทศ
อียิปต์อาศัยความสมบูรณ์ของแม่น้ำไนล์ในการล่อเลี้ยงชีวิต ประเทศที่มีอากาศร้อนแห้งแล้ง มีฝนตกเพียงเล็กน้อยในฤดูหนาวและตกเฉพาะบริเวณเดลต้า มีชาวกรีกโบราณกล่าวว่า อียิปต์เป็นของขวัญของแม่น้ำไนล์และมันก็เป็นความจริงอย่างยิ่งประเทศอียิปต์แบ่งเป็น 2 บริเวณ คือ อียิปต์บนและอียิปต์ล่าง ความแตกต่างของสภาพของภูมิศาสตร์ของอียิปต์ทั้งสองภาคนี้ คือภาคหนึ่งเป็นที่สูงและอีกภาคหนึ่งเป็นที่ลุ่ม และลักษณะที่แคบยาวของประเทศในสมัยนั้นยาว 500 ไมล์ แต่มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 10,000 ตารางไมล์เท่านั้น ทำให้ยากแก่การที่จะรวมประเทศเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และจัดการปกครองให้ทั่วถึงได้จริงๆ 

การปกครองแบ่งเป็น 3 สมัยด้วยกัน คือ
1.สมัยอาณาจักรเก่า (The Old Kingdom ประมาณ 3,200-2,300 ปีก่อนคริสตกาล)  เป็นสมัยที่อารย-ธรรมอันยิ่งใหญ่ของอียิปต์เริ่มปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก
2.สมัยอาณาจักกลาง (The Middle Kingdom ประมาณ 2,000-1,580 ปีก่อนคริสต์กาล) หลังจากที่เกิดความระส่ำระสายและบรรดาขุนนางที่ตั้งตนเป็นเจ้าครองนครต่างๆ ได้ปรากฏว่ามีฟาโรห์ที่มีชื่อเสียงและ
สร้างความมั่นคงเป็นปึกแผ่นให้แก่อียิปต์ คือ ฟาโรห์ในสมัยราชวงศ์ที่สิบสอง
3.สมัยจักรวรรดิ (The Empire ประมาณ 1,580-1,090 ปีก่อนคริสต์กาล) ผุ้เป็นกำลังขับไล่พวกฮิกซอสคือ ฟาโรห์อาห์โมสที่หนึ่ง (Ahmosr I) ได้สถาปนาราชวงศ์ที่สิบแปดขึ้น ทรงเป็นฟาโรห์ที่มีอำนาจยิ่งใหญ่องค์หนึ่งของอียิปต์ อาณาจักรของอียิปต์เป็นปึกแผ่นยิ่งกว่าในสมัยใดๆ
          รามซีสที่สาม (Rameses III 1,198-1,167 ปีก่อนคริสต์กาล) ฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่ยี่สิบเป็นฟาโรห์ที่ปรากฏพระนามเด่นมีชื่อเสียงเป็นองค์สุดท้าย หลังจากนั้นอาณาจักรอียิปต์ก็เสื่อมลงทุกที ถึงจะมีฟาโรห์บางพระองค์พยายามฟื้นฟูแต่ก็มิเป็นผล

ประชากรและสังคมอียิปต์
การปกครอง ลักษณะสังคมของอียิปต์แบ่งพลเมืองเป็น 7 ชั้น ชั้นสูงสุด คือ ฟาโรห์และพวกราชวงศ์ของพระองค์ (ฟาโรห์คือตำแหน่งกษัตริย์อียิปต์โบราณ มาจากคำว่า Pero แปลว่า ‘Great House’ หรือ “Royal House” หมายถึงพระราชวังอันเป็นที่ประทับของกษัตริย์ หรือที่อยู่ของเทพเจ้า) ฟาโรห์เป็นประมุขสูงสุดทั้งในยามสงครามและยามสงบ สามารถรวบรวมชาวอียิปต์เป็นปึกแผ่น ลุ่มแม่น้ำทรงถือว่าพระองค์เป็นโอรสของเทพเจ้าแห่งพระอาทิตย์ที่ทรงพระนามว่า เร (Re) ฟาโรห์ยังมีความสำคัญต่อชาวอียิปต์ในอีกสถานหนึ่ง คือ ในฐานะที่เป็นสื่อกลางระหว่างชาวอียิปต์กับเทพเจ้า
คณะสงฆ์ เป็นผู้ช่วยของฟาโรห์ในด้านการศาสนา นับเป็นชนชั้นที่สอง ทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆ และฟาโรห์ก็ได้แบ่งที่ดินให้คณะสงฆ์ เพื่อที่จะได้เก็บผลประโยชน์มาเลี้ยงชีพและทำนุบำรุงวัด ความเชื่อถือในพิธีกรรมทางศาสนาเพิ่มอำนาจให้กับพระที่ประกอบพิธีกรรมจึงทำการกดขี่คดโกงในนามของพระเจ้า
การบริหารงานตามท้องถิ่น จัดแบ่งประเทศออกเป็น 40 ส่วน แต่ละส่วนเรียกว่า โนมิส (Nomes) เทียบได้กับจังหวัด มีข้าหลวงเรียกว่าโนมาร์ค (Nomarches) เป็นชนชั้นที่สามในสังคมของอียิปต์ ฟาโรห์ทรงเลือกแต่ผู้ใกล้ชิดในพระราชวงศ์หรือขุนนางที่ไว้วางพระทัยให้เป็น แต่ตอนขุนนางเหล่านั้นได้ยึดเอาตำแหน่งเจ้าเมืองเป็นของสกุลแห่งตน และสืบสกุลจากบิดามาถึงบุตรเหมือนกับเป็นสิทธิส่วนตัว และในที่สุดเจ้าเมืองต่างๆ รวบอำนาจเข้ามาเป็นของตนมากขึ้นทุกทีและไม่เอาใจใส่ต่อคำสั่งของกษัตริย์มากนักซึ่งเป็นเหตุให้อำนาจของกษัตริย์อ่อนลง
ชนชั้นที่มีฐานะเป็นรองพวกขุนนางในสมัยจักรวรรดิของอียิปต์ที่ควรจะกล่าวถึง คือ พวกทหารประจำกอง ในสมัยนี้ฟาโรห์ได้ส่งกองทัพไปรุกรานประเทศใกล้เคียง และจากการที่มีศัตรูเข้ามารุกรานอียิปต์อยู่เสมอ จำเป็นจะต้องมีกองทหารไว้ป้องกันประเทศ
ต่ำลงมาอีกชั้นหนึ่งของสังคมอียิปต์ก็คือ ผู้ที่เราอาจจะเรียกว่าชนชั้นกลาง คือพวกช่างฝีมือและพวกพ่อค้า มีการค้าขายติดต่อกับเกาะครีทพวกฟินีเซีย ปาเลสไตน์และซีเรีย สินค้าที่ขายประกอบด้วย ข้าวสาลี ผ้าป่านลินินและไม้ซุง ส่วนสินค้าเข้ามี เงิน ทอง งาช้าง และไม้ซุง ในสมัยอาณาจักรเก่าและอาณาจักรกลาง พวกพ่อค้าสามารถดำเนินธุรกิจของตนเองได้ พวกช่างฝีมือร้านของตนเอง
ถัดจากพวกช่างฝีมือและพวกพ่อค้า ก็คือพวกกสิกร ซึ่งนับว่าเป็นชนชันที่มีจำนวนมากเมื่อเปรียบเทียบกับชนชั้นอื่นๆแล้ว ยังเป็นผู้ที่แบกภาระที่หนักที่สุดของสังคมไว้ด้วย เนื่องจากระบบเศรษฐกิจของอียิปต์ขึ้นอยู่กับการเกษตรกรรม กสิกรของอียิปต์เป็นผู้ทำที่ดินอันอุดมสมบูรณ์ของประเทศอียิปต์ให้เกิดพืชผล เป็นต้นว่าข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ ข้าวมิลล์เลย์ ผัก ผลไม้ ป่านลินินและฝ้าย จนอียิปต์ได้ชื่อว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของโลกในสมัยดึกดำบรรพ์
พวกกสิกรลงไปคือพวกทาสติดที่ดิน และเชลย ซึ่งนับว่าจัดอยู่ในชนชั้นต่ำที่สุดของสังคมอียิปต์ มีหน้าที่หาวัตถุดิบทุกอย่างเท่าที่มีอยู่ในประเทศ เช่น หนังสัตว์ ต่อยและลำเลียงหินที่ใช้ในการก่อสร้าง ถูกเกณฑ์มาใช้ในการขุดคลองทำเขื่อนทดน้ำเพื่อทำให้การกสิกรรมเจริญขึ้น การก่อสร้างพีระมิดหรือสถาปัตยกรรมทางศาสนาอื่นๆ ก็ล้วนแต่เป็นแรงงานของพวกทาสติดที่ดิน และทาสเชลยทั้งสิน พวกนี้มีความเป็นอยู่อย่างยากจนมาก อาศัยอยู่ในกระท่อมที่มุงด้วยจาก และสร้างด้วยอิฐที่ทำจากดินเหนียว
ฐานะของสตรี ชาวอียิปต์นิยมที่จะมีสามีภรรยากันเพียงคนเดียว แม้แต่ฟาโรห์ก็เช่นเดียวกันหญิงอียิปต์โบราณได้รับการยกย่องดียิ่งกว่าหญิงชาวกรีกในสมัยหลังๆ หรือแม้แต่หญิงชาติตะวันออกหลายชาติในสมัยปัจจุบัน ในสังคมอียิปต์ฝ่ายหญิงและเครือญาติของฝ่ายหญิงมีอำนาจเป็นใหญ่ (Matriarchal) เด็กชาวอียิปต์จะได้รับสิทธิหรือความคุ้นเคยทางญาติฝ่ายแม่มากกว่าทางฝ่ายพ่อ ภรรยาเป็นเพื่อนและไปไหนมาไหนกับสามีได้ ไม่ถูกเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน สามารถไปงานสาธารณะและพิธีต่างๆได้ มีสิทธิในทางกฎหมายเท่าเทียมกับชาย พระธิดาของฟาโรห์มีสิทธิ์สืบสันตติวงศ์ได้เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้จึงปรากฏว่าอียิปต์มีราชินีผู้มีความสามารถหลายองค์ขึ้นครองราชย์บัลลังก์

ความเชื่อ
แมลงทับ ชาวอียิปต์ถือว่าเป็นสัตว์ที่ต้องเคารพ เพราะเป็นตัวแทนของพระเจ้าผู้สร้างโลก ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะตามริมฝั่งแม่น้ำไนล์มีแมลงทับชุกชุม สัตว์ชนิดนี้นำเอาดินก้อนเล็กๆไปสร้างเป็นรังโตๆ แมลงทับสอนให้ชาวอียิปต์มีความคิด ว่าโลกนี้ต้องมีพระเจ้าสร้าง
ชีวิตหลังความตายและมัมมี่ เทพเจ้าแห่งความตายหรือเทพเจ้ามฤตยู ก็มีเป็นจำนวนมาก เมื่อมฤตยูถือเป็นอาณาจักรอันหนึ่งมีเจ้าปกครองคล้ายกับที่เรียกว่า ยมโลกและความขึ้นลงของแม่น้ำไนล์ ความแห้งแล้งกลับชุ่มชื้นของภูมิภาค ทำให้ชาวอียิปต์เกิดความเชื่อว่าคนที่ตายไปนั้นไม่สูญและเมื่อเวลาขาดในก็มีร่างอันหนึ่งซึ่งไม่สามารถจะเห็นด้วยตาธรรมดา ออกไปจากร่างจริงของคนตาย เรียกว่า กายแฝดหรือวิญญาณไปอยู่ที่นั้น และชาวอียิปต์พบวิธีการเก็บศพ ซึ่งไม่มีชาติโบราณใดสามารถเก็บศพได้หลายพันปี และจะมีการชำระบาปและกลับมายังร่างตนเอง ในอียิปต์โบราณมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของชีวิตหลังความตาย เกี่ยวกับการหวนกลับคืนร่างของวิญญาณ โดยมีความเชื่อว่าเมื่อวิญญาณออกจากร่างไปชั่วระยะเวลาหนึ่งจะหวนกลับคืนสู่ร่างเดิมของผู้เป็นเจ้าของ จึงต้องมีการถนอมและรักษาสภาพของร่างเดิม โดยการแช่และดองด้วยน้ำยาบีทูมิน ซึ่งจะช่วยรักษาและป้องกันไม่ให้ซากศพเน่าเปื่อยผุผังไปตามกาลเวลา
ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่า ก่อนผู้ตายจะไปยังปรภพได้ ก็ต้องผ่านดินแดนใต้โลกอันเป็นที่ที่เต็มไปด้วยมารร้าย สัตว์ที่ดุร้ายต่าง ๆ ซึ่งผู้ตายจะต้องอาศัยมนต์ศักดิ์สิทธิ์เพื่อปกป้องให้เดินทางได้โดยปราศจากภัยร้ายมาแผ้วพาน มนตราเหล่านี้จารึกอยู่ในสมุดบันทึกที่เรียกว่า มนตราสำหรับผู้ตายซึ่งเป็นตำราเขียนลงบนม้วนกระดาษปาปีรุสและจะถูกฝังไปด้วยกันกับผู้ตายในปิรามิด และก็เป็นการเสร็จสิ้นวิธีการทำมัมมี่

วัฒนธรรม
วรรณคดี ชาวอียิปต์ปรับปรุงแบบของการเขียนแรกเริ่มได้ในระหว่างสมัยราชวงศ์ซึ่งมีชื่อเรียกว่า เฮียโรกลิฟิค(Hieroglyphic)มาจากคำภาษากรีกแปลว่า การแกะสลักอันศักดิ์สิทธิ์(Sacred carving) อักษรที่ใช้มีรูปเป็นภาพสลักบนหินด้วยเหล็กหนามต่อมาก็มีการเปลี่ยนให้มีความหมายให้เข้าใจอย่างใดอย่างหนึ่งมีการประกอบตัวอักษรเข้าด้วยกันให้เป็นคำในสมัยราชอาณาจักรเก่า ในที่สุดก็มีตัวอักษร 24 ตัวโดยแต่ล่ะตัวใช้แทนเสียงพยัญชนะที่เปล่งออกมาจากเสียงคนด้วยเหตุนี้ระบบการเขียนแบบเฮียโรกลิฟิ

ารยธรรมของอียิปต์โบราณมีความสำคัญแก่โลกสมัยใหม่มาก แม้แต่อิทธิพลของชาวฮิบรูก็ยังไม่มากเท่าชาวอียิปต์นอกจากประดิษฐ์ผลงานทางด้านปรัชญา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วรรณคดีแล้ว อียิปต์ยังประสบความสำเร็จทางด้านการชลประทาน วิศวกรรม การทำเครื่องปั้น แก้ว กระดาษ อียิปต์มีชื่อเสียงในการประดิษฐ์ตัวเสา หัวเสาและแท่งหินโอเบอร์ลิสค์ สิ่งที่สำคัญที่ชาวอียิปต์ให้แก่ชาวอารยธรรมโลกคือ ศาสนาซึ่งมีหลักศีลธรรมให้แก่บุคคลและสังคม พระและนักปราชญ์อียิปต์เป็นพวกที่สั่งสอนลัทธิเอกเทวนิยม เนื่องจากพระกรุณาของพระผู้เป็นเจ้าทรงให้อภัยต่อบาปทรงประทานรางวัลและลงโทษหลังจากความตาย ทฤษฏีทางด้านศีลธรรมของอียิปต์นับหลักศีลธรรมของอียิปต์สอนไม่ให้พูดปด ไม่ให้ทำร้ายผู้อื่นถึงแก่ชีวิตแล้วยังมีหลักการความยุติธรรม ความมีเมตตากรุณาต่อเพื่อนด้วยกันและหลักที่ว่าคนเราทุกคนมีความเท่าเทียมกันอีกด้วย




 อ้างอิง              



 นางสาวกมลศรี  นราพงค์  เลขที่ 1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น