หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ประวัติฟุตบอล ความเป็นมาของฟุตบอล



ประวัติฟุตบอล ความเป็นมาของฟุตบอล

           ฟุตบอล หรือซอคเก้อร์ เป็นกีฬาที่มีผู้สนใจที่จะชมการแข่งขันและเข้าร่วมเล่นมากที่สุดในโลก ชนชาติใดเป็นผู้กำเนิดกีฬาชนิดนี้อย่างแท้จริงนั้นไม่อาจจะยืนยันได้แน่นอน เพราะแต่ละชนชาติต่างยืนยันว่าเกิดจากประเทศของตน แต่ในประเทศฝรั่งเศสและประเทศอิตาลี ได้มีการละเล่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ซูเลอ" หรือจิโอโค เดล คาซิโอ มีลักษณะการเล่นที่คล้ายคลึงกับกีฬาฟุตบอลในปัจจุบัน ทั้งสองประเทศอาจจะถกเถียงกันว่ากีฬาฟุตบอลถือกำเนิดจากประเทศของตน อันเป็นการหาข้อยุติไม่ได้ เพราะขาดหลักฐานยืนยันอย่างแท้จริง ดังนั้น ประวัติของกีฬาฟุตบอลที่มีหลักฐานที่แท้จริงสามารถจะอ้างอิงได้ เพราะการเล่นที่มีกติกาการแข่งขันที่แน่นอน คือประเทศอังกฤษเพราะประเทศอังกฤษตั้งสมาคมฟุตบอลในปี พ.ศ. 2406 และฟุตบอลอาชีพของอังกฤษเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2431

           วิวัฒนาการด้านฟุตบอลจะเป็นไปพร้อมกับความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ตลอดมา ต้นกำเนิดกีฬาตะวันออกไกลจะได้รับอิทธิพลมาจากสงครามครั้งสำคัญๆ เช่น สงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้นำเอา "แกลโล-โรมัน" พร้อมกีฬาต่างๆ เข้ามาสู่เมืองกอล อันเป็นรากฐานส่วนหนึ่งของกีฬาฟุตบอลในอนาคต และการเล่นฮาร์ปาสตัม ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นกีฬาซูเลอ

ประโยชน์และคุณค่าของกีฬาฟุตบอล
                1. การเล่นฟุตบอลนั้น    ผู้เล่นจะต้องเคลื่อนไหวร่างกายอยู่ตลอดเวลา  รวมทั้งต้องไหวพริบดี  มีอารมณ์มั่งคง  มีสมาธิดี  มีความเชื่อมั่นในตนเอง  สามารถแก้ปัญหาต่างๆ  และตัดสินใจที่รวดเร็วและถูกต้อง  เพราะถ้าผู้เล่นมีอารมณ์มุทะลุดุดันขาดการตัดสินใจที่ดี  จะทำให้การเล่นผิดพลาดได้บ่อยๆ ถ้าเป็นการแข่งขันก็จะทำให้พ่ายแพ้แก่ฝ่ายตรงข้ามได้ง่าย  ซึ่งชีวิตประจำวันของมวลมนุษย์ก็จะต้องมีการตัดสินใจและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอยู่เสมอ  ดังนั้นฟุตบอลจึงเป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งที่ช่วยฝึกฝนให้ผู้เล่นมีไหวพริบที่ชาญฉลาดและแก้ปัญหาอย่างฉับพลันได้ดี
                    2. ฟุตบอลเป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่ง   ที่ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางร่างกายให้แข็งแรง  ช่วยทำให้ระบบต่างๆ ภายในร่างกายทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  เช่น  ระบบกล้ามเนื้อ  ระบบการหายใจ  ระบบขับถ่าย  ระบบการไหลเวียนของโลหิต  เป็นต้น
                    3. ฟุตบอลเป็นกีฬาที่ช่วยส่งเสริมกิจกรรมที่รวมการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติของมนุษย์เกือบทุกชนิด  เช่น  การวิ่งหลบหลีก  หลอกล่อ  การแย่ง  การรับ  การส่ง  การกระโดด      การเตะ  ตลอดจนการใช้เท้าให้สัมพันธ์กับสายตาด้วย
                    4.      ฟุตบอลเป็นกีฬาที่มีกฎ กติกา ผู้เล่น ต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎกติกาการเล่นดังนั้นการเล่นฟุตบอลย่อมช่วยสอนให้ผู้เล่นรู้จักความยุติธรรมปฏิบัติตนให้อยู่ในขอบเขตอันพึงควรกระทำ  สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน  ให้รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น  มีความอดกลั้น  อดทน  ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรามีน้ำใจเป็นนักกีฬา(รู้แพ้  รู้ชนะ รู้อภัย รู้จักการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีตลอดจนรู้จักปฏิบัติหน้าที่อันถูกต้อง
                    5.      ฟุตบอลเป็นกีฬาที่ช่วยส่งเสริมความรักใคร่สามัคคีกันระหว่างหมู่คณะเพราะฟุตบอลเป็นกีฬาประเภททีม   ซึ่งกีฬาประเภททีมทุกชนิดจะต้องมีการฝึกซ้อม   เพื่อให้การเล่นในทีมมีความสัมพันธ์และรักใคร่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หากทีมใดขาดความสามัคคีแล้ว เมื่อลงแข่งขันย่อมจะมีชัยชนะได้ยาก  และผลจากการเล่นกีฬาประเภทนี้  สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการ  ดำเนินชีวิตให้มีนิสัยรักใคร่สามัคคีปรองดองกันในหมู่คณะมากยิ่งขึ้น
                    6.      สำหรับผู้ที่มีทักษะ  การเล่นฟุตบอลที่ดีย่อมมีโอกาสได้รับคัดเลือกให้เป็น ตัวแทน  ของชาติ โรงเรียน  สถาบัน สโมสร  เพื่อเข้าร่วมแข่งขันกับชาติอื่นหรือทีมอื่นๆ  ซึ่งนอกจากจะ                เป็นการประกาศเกียรติคุณสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติ  โรงเรียน  สโมสร  และวงศ์ตระกูลแล้ว  ยังเป็นหนทางที่ทำให้คนรู้จัก  อันเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงได้ทางหนึ่งด้วย
                    7.      ปัจจุบันผู้เล่นฟุตบอลที่มีความสามารถสูงยังมีสิทธิได้เข้าศึกษาต่อ  ในระดับสูง                  บางสาขา บางสถาบันได้  และหลายหน่วยงานยังรับบุคคลที่เป็นนักกีฬาฟุตบอลเข้าทำงาน  เพราะฟุตบอลกำลังเป็นที่นิยมของวงการทั่วไป และมีการแข่งขันกันอยู่เป็นประจำ

                    สรุปได้ว่า  กีฬาฟุตบอลนั้นมีประโยชน์ต่อคนเรามาก  เช่น  ทำให้ร่างกายแข็งแรง   จิตใจ              ที่แจ่มใส  เข้าสังคมได้ดี  ทำชื่อเสียงให้กับตนเองและวงศ์ตระกูล  ยิ่งในปัจจุบันนี้ความเจริญก้าวหน้ามีมาก ความวุ่นวายในสังคมก็ตามมา  ทั้งในเรื่องภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพการกีฬาจะช่วยเราให้สามารถอยู่ในสังคมเป็นปกติสุข
อ้างอิง                



               นายทีปกร  หนูเนตร  เลขที่ 10 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น