สานฝันสู่สถาปัตย์
คำว่า สถาปัตย์
สำหรับในมุมมองความคิดของดิฉัน
ดิฉันถือว่ามันคือความฝันที่สูงที่สุดอย่างหนึ่งของดิฉัน
ดิฉันไม่ได้อยากเป็นอะไรหวานๆอย่างที่ผู้หญิงเขาอยากเป็นกันแต่ดิฉันชอบที่จะวาดรูป
ชอบที่จะทำสิ่งแปลกใหม่ ดิฉันอยากที่จะเป็นสถาปนิกคอยออกแบบคิดสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ
และดิฉันก็คิดว่าก็ต่างมีใครอีกหลายคนที่มีความฝันเช่นเดียวกับดิฉัน
ในการทำเรื่องสานฝันสู่สถาปัตถ์ครั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้ใครอีกหลายคนที่อยากเดินในเส้นทางนี้ได้ศึกษาเกี่ยวกับสถาปัตและสาขาวิชาต่างๆที่เกี่ยวกับสถาปัตถ์
เพื่อสามารถนำไปต่อยอดสานฝันเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยในอนาคต
จากการที่ดิฉันได้ศึกษาทั้งในหนังสือและสื่ออินเทอร์เน็ต
การที่จะเป็นสถาปัตถ์นั้นมันไม่ได้ง่ายเลย เพราะต้องรู้ก่อนว่าสถาปัตย์คืออะไร
และเราชอบมันจริงๆหรือเพียงแค่เราเรียนตามเพื่อน
การที่เราจะเรียนอะไรก็ตามถ้าหากเราชอบสิ่งนั้นจริงๆเราก็จะทำมันออกมาได้ดีกว่าสิ่งไหนๆงานสถาปัตย์ไม่ได้เป็นงานที่อยู่ในห้องแอร์
ไม่ได้เป็นงานมั่นคงอะไรมากนักแต่งานสถาปัตย์เป็นงานอิสระไม่มีกฎเกณฑ์ใดๆตายตัว
บางครั้งแค่เพียงความฝันก็อาจจะไม่พอใครที่จะเรียนสถาปัตย์นั้นต้องมีฐานะครอบครัวที่ดีด้วยเพราะจากการที่ศึกษามานั้นในขณะการเรียนนั้นจะต้องมีการจ่ายค่าอุปกรณ์
ตั้งแต่ 100000 บาทขึ้นไปแล้วแต่สาขาวิชา บางคนอาจจะถามว่าสถาปัตย์เรียนทำไม
เรียนแล้วจบไปจะมีงานทำหรือเปล่า วันนี้จะขอแนะนำเลยว่า
คณะสถาปัตย์มีหลากหลายสาขาวิชาและเมื่อจบไปก็จะมีหลากหลายอาชีพเช่นเดียวกัน อาทิ
- สาขาสถาปัตยกรรม
เมื่อจบไปก็จะเป็นนักออกแบบบ้านหรืออาคารบ้านเรือน
- สาขาสถาปัตยกรรมไทย
เมื่อจบไปก็จะเป็นนักออกแบบวัดวาอารามหรือบ้านทรงไทยต่างๆ
-
สาขาสถาปัตยกรรมภายใน เมื่อจบไปก็จะเป็นนักออกแบบภายใน อาทิที่เราเห็นกันบ่อยคือ
ตามฝาผนังโรงพยาบาลต่างๆหรือในโบสถ์วัดต่างๆ
-
สาขาภูมิสถาปัตย์ เมื่อจบไปแล้วก็จะเป็นนักออกแบบภายนอก อาทิ จัดสวน
หรือต้นไม้ต่างๆ
-
สาขาแผนผังเมืองหรือผังภูมิภาค เมื่อจบก็จะเป็นนักออกแบบแผนผังเมืองต่างๆ
ที่มีชื่อเสียงของไทยก็คือ จังหวัดยะลา
โดยสาขาวิชาเหล่านี้ไม่มีทางตกงาน
จากที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่าเป็นงานอิสระดังนั้นสถาปัตย์จึงไม่เป็นอาชีพตกงานแน่นอนและยังติดอันดับ
10
ของอาชีพในกลุ่มอาเซียนอีกด้วย
โดยในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยนั้นเกือบทุกมหาวิยาลัยที่กำหนด GPA 2.75 ขึ้นไปโดยมีการรับทั้งสายวิทย์-คณิต สายศิลป์-คำนวณ ส่วนสายศิลป์ภาษาบางมหาวิทยาลัยอาจจะไม่รับ
เพราะกลัวว่าอาจจะมีปัญหาในภายหลังเรื่องแคลคูลัส
โดยมีมหาลัย 5 อันดับที่เด็กถาปัตย์มักไปเรียนกัน คือ
1 มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ 2
มหาวิทยาธรรมศาสตร์ 3 มหาวิทยาลัยศิลปากร 4 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 5 มหาวิทยาลัยลาดกระบัง
ซึ่งมหาวิทยาลัยเหล่านี้ล่วงใช้หลักเกณฑ์ในการสอบเข้าแบ่งการสอบเป็น
2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 เป็นการสอบ 5 วิชาสามัญ
ได้แก่ คณิต ไทย สังคม อังกฤษ และฟิสิก ค่าน้ำหนัก 40% ของการสอบ
ส่วนที่ 2 เป็นการสอบความถนัดทางสถาปัตย์หรือเรียกสั้นๆว่า PAT
4 โดยจะมีการแบ่งเป็นสองส่วนๆแรกเป็นข้อสอบปรนัย
ส่วนที่สองเป็นข้อเขียนซึ่งแต่ล่ะสาขาวิชาจะมีการสอบที่แตกต่างกันออกไป
สิ่งที่กล่าวไปแล้วข้างต้นก็เป็นแนวเพื่อเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยในอนาคตทั้งสิ้น
สุดท้ายก็ขอจบประโยชน์ที่กล่าวไว้ว่า
“
ความฉลาด ” อาจทำให้เรา...คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้ดีกว่าคนอื่น
แต่...
“ ความอดทน
” จะทำให้เราก้าวถึงเป้าหมาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น