พาราณสี
เมืองสี่พันปีที่ไม่เคยหลับ

ประวัติศาสตร์หน้าแรกของเมืองพาราณสี พาราณสี
เป็นภาษาบาลี สันสกฤต หรืออาจจะเรียกว่า วาราณสี เป็นเมืองหลวงของแคว้นกาสี ในสม ปัจจุบันตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
พาราณสีมีแม่น้ำคงคาไหลผ่าน
เป็นเมืองที่ศักดิสิทธิ์ที่สุดหนึ่งในเจ็ดเมืองศักดิสิทธิ์ ประชากรทั้งหมด 1,435,113
คน ภาษาที่ใช้ ภาษาฮินดี ภาษาอูรดู ภาษาอังกฤษ ได้รับสมญานาม
เมืองหลวงทางจิตวิญญาณของอินเดีย

ศาสนา
ความเชื่อ พิธีกรรมต่างๆในเมืองพาราณสี
การเผาศพของชาวฮินดูนั้น
จะทำกันง่ายๆเมื่อมีคนตายก็จะใช้ผ้าห่อศพแล้วแบกไปยังริมฝั่งแม่น้ำคงคา ผู้ชายจะห่อด้วยผ้าขาว
ส่วนผู้หญิงจะห่อผ้าหลากสีโดยไม่ต้องใส่โลงศพให้ยุ่งยากอะไรเลย มีเพียงแค่แคร่ไม้ไผ่หามเท่านั้น
พอหามศพไปถึงแม่น้ำคงคา ก็จะซื้อฟืนกันตรงนั้นมากองไว้เพื่อเผา ก่อนเผาก็เอาศพที่ห่อผ้าจุ่มลงไปในแม่น้ำคงคาแล้วยกขึ้น ทำเช่นนี้ 3
ครั้งบ้าง 5 ครั้งบ้าง
สถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาในเมืองพาราณสี ธรรมเมกขสถูป
เป็นพุทธสถานขนาดใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุด
สันนิษฐานว่าบริเวณที่ตั้งของธรรมเมกขสถูป เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาประกาศพระสัจธรรมเป็นครั้งแรกที่นี่

ศิลปวัฒนธรรม หลักฐานทางสถาปัตยกรรม ในสมัยต่อมากำหนดอายุได้ราวต้นพุทธกาล
ได้แก่ สถูป เสาหินโดยเฉพาะ ธัมเมทสถูป หรือที่เรียกกันว่า
สารนาถ ตั้งอยู่ในเมืองพาราณสี
เป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา
ชีวิตและสังคมของเมืองพาราณสี

มุมมองของเมืองพาราณสีต่อสายตาชาวโลก
ถึงแม้ว่าผู้คนบนโลกนี้จะมีมุมมองเมืองพาราณสีที่แตกต่างกันออกไป
บางคนอาจจะมองว่า พาราณสีคือ ดินแดนแห่งความสุขทางจิตใจที่แท้จริง หรือ
ผู้คนอีกกลุ่มหนึ่งอาจจะมองว่า พาราณสี
ไม่ใช่สถานที่ท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการหาความสุขทางกาย
และความสะดวกสบาย
แต่อย่างไรก็ตามผู้คนจำนวนมากก็ยังให้ความเห็นที่ตรงกันว่า
พาราณสีคือสถานที่ที่สำหรับการพักผ่อนทางจิตใจ การแสวงหาบุญบารมีที่แท้จริง
อ้างอิง
นางสาวศิริวรรณ ชูด้วง เลขที่ 36
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น