หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ทุกข์ใจจิตใจ



ทุกข์ใจจิตใจ

เรื่องทุกข์ในจิตใจมาจากการเห็นบุคคลต่างๆในชีวิตประจำวันที่ได้รับความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน ครอบครัวหรือความอยากได้อยากมีอยากเป็นโดยเหตุผลที่ดิฉันตัดสินใจค้นคว้าเรื่องนี้เพราะมีความน่าสนใจเป็นเรื่องจริงๆทั่วไปที่ทุกคนต้องเจอไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ก็ต้องเจอทั้งนั้นแต่จะมีสักกี่คนที่สามารถยอมรับเรื่องจริงที่เป็นทุกข์นี่ได้และระงับมันหรืออยุ่กับกับได้เลย จึงเป็นเหตุผลที่ดิฉันเลือกค้นคว้าเรื่องความทุกข์ของมนุษย์ค่ะ โดยเรื่องนี้แสดงถึงเรื่องความทุกข์ตั้งแต่ความทุกข์เกิดจากสิ่งใด วิธีการระงับความทุกข์ จนถึงการอยู่กับความทุกข์ให้ได้และดิฉันคาดหวังว่ารายงานเล่มนี้จะช่วยให้ผู้อ่านสามารถรู้จักควบคุมสติเข้าใจและยอมรับธรรมชาติของมนุษย์ที่เกิดขึ้นกับตนเองได้

ความทุกข์คืออะไร
ความทุกข์ก็คือความไม่สบายใจ เมื่อไม่สบายกายบางครั้งแค่ซื้อยากินเองก็หายแต่บางครั้งก็ต้องไปหาหมอให้เยียวยารักษา จึงจะหายจากการไม่สบายหรือความทุกข์กาย ความไม่สบายกายก็เช่นกัน ถ้าเป็นมาก ๆ ก็อาจต้องไปพบจิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิตเพื่อขอความช่วยเหลือ แต่ถ้ายังเป็นไม่มากนักเป็นความไม่สบายใจ ความทุกข์ใจที่ผ่านมาในชีวิตประจำวันไม่รุนแรงถึงกับทำให้เจ็บป่วยทำงานไม่ได้ แต่ก็ทำความรำคาญและริดรอดความสุขในชีวิตไปความไม่สบายใจหรือความทุกข์ใจกรณีแบบนี้ น่าจะเยียวยาได้ด้วยตัวเอง
ความทุกข์เกิดจาก
ความทุกข์เกิดจากความน้อยเนื้อต่ำใจ ไม่ว่าจะเป็นลูกที่น้อยใจพ่อ-แม่ว่ารักพี่หรือน้องมากกว่า ลูกน้อยที่น้อยใจหัวหน้าที่ไม่เคยให้ความสำคัญ ควรสลายความทุกข์เหล่านี้ด้วยคำว่า ช่างเขาใครจะเป็นอย่างไรก็ช่างเขา ปล่อยเขาไป เขาจะได้ดีกว่ามีคนรักมากกว่าชื่อเสียงเงินทองมากกว่า ก็ไม่เห็นจะเกี่ยวกับเรา เขาได้ดีกว่าเพราะเขาทำบุญมากกว่า ถ้าเราอยากได้ดีอย่างเขาก็ควรเร่งทำตัวเสียใหม่
ความทุกข์จากการถูกนินทา ถูกวิพากษ์วิจารณ์ลับหลัง ซึ่งความจริงก็แค่ลมปากแต่เมื่อสัมผัสด้วยการได้ยิน กลับทำร้ายจิตใจได้ชงัดนัก เกิดความเจ็บร้อนมากที่เดียววิธีสลายความทุกข์จากการนินทาก็คือบอกตัวเองว่า ฉันไม่แคร์จะไม่เก็บมาคิด ไม่เอาใจใส่ให้เจ็บใจจนนอนไม่หลับซึ่งถ้าเราไม่แคร์แล้วลมปากเหล่านั้นก็จะพัดผ่านหายไปเอง
ความทุกข์จากการทำผิด ควรคิดอยู่เสมอว่า คนเราผิดกันได้ในโลกนี้คงไม่มีใครหลอกที่ไม่เคยทำผิดอยู่ที่ว่าเมื่อรู้ตัวว่าผิดแล้วคิดแก้ตัว พยายามทำสิ่งที่ถูกต้องใหม่หรือเปล่า ความทุกข์ทกอย่างแก้ไขได้เสมอถ้ามีความพยายามและตั้งใจจริง
ความทุกข์จากการขลาดกลัว ควรรู้จักสร้างความเชื่อมั่นในตัวเอง ค้นหาข้อดีของตัวเองแล้วยึดไว้เป็นความภาคภูมิใจ และกล้าเผชิญกับสภาพแวดล้อมและเหตุการณ์ต่าง ๆ จะช่วยให้มีกำลังใจมากขึ้น
ความทุกข์ที่ไม่สามารถบอกใครได้ เป็นความลับคับอกจริง ๆ ต้องทนทุกข์อยู่เสมอ ควรระบายออกด้วยวิธีต่าง ๆ จะทำให้นอนหลับสบายกายและใจมากขึ้น

ความระงับดับทุกข์ 
ความดับไปโดยไม่เหลือของความอยากทั้งปวงซึ่งตามปกติความทุกข์มันเกิดได้ มันก็ดับได้ด้วยตัวมันเองอยู่แล้ว แต่ถ้าเราไม่มีปัญญาก็อาจจะเก็บเอาความทุกข์ไว้ในใจนานอาจจะหลายวัน หลายเดือนบางคนเก็บไว้หลายปีทำให้ทุกข์ทรมานแสนสาหัส มันจึงอยู่ที่ระยะเวลาของความทุกข์ว่าเราจะละวางปลดปล่อยออกไปจากจิตได้ทันทีหรือไม่ ? ก็อยู่ที่การได้ฝึกจิตพร้อมอยู่แล้วทั้ง สติ สมาธิ ปัญญา เมื่อเกิดความทุกข์ขึ้นมาจึงสลัดอารมณ์ออกไปได้ทันที หรือ ไม่นานนัก ดังนั้นสิ่งที่เรียกว่า นิโรธ คือความดับทุกข์จึงเป็นสิ่งที่นักปฏิบัติจะต้องทำให้แจ้ง คือทำให้เกิดความรู้แจ้ง ในธรรมชาติแห่งความดับทุกข์ที่หมายถึง ความสิ้นไปแห่งตัณหา คือความอยากทั้ง 3 ชนิด ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ จะทำให้เราไม่เป็นบ้า หรือ วิกลจริตไปเสียก่อนที่ความตายจะมาถึง
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ คือ ทางปฏิบัติอันประเสริฐมีอยู่ 8 อย่างได้แก่
1) สัมมาทิฏฐิ คือ ความคิดความเห็นที่ถูกต้อง
2) สัมมาสังกัปปะ คือความคิดไตร่ตรองที่ถูกต้อง
3) สัมมาวาจา คือ การพูดที่ถูกต้อง
4) สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำที่ถูกต้อง
5) สัมมาอาชีวะ คือ การประกอบอาชีพที่ถูกต้อง
6) สัมมาวายามะ คือ ความพากเพียรที่ถูกต้อง
7) สัมมาสติ คือ ความระลึกที่ถูกต้อง
8) สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งใจมั่นที่ถูกต้อง
ถ้าใครปฏิบัติทำตามนี้ได้ครบทั้งหมด ก็จะเป็นเหตุปัจจัยให้ความทุกข์หมดไปจากจิต ซึ่งเป็นแนวทางของการดำเนินชีวิตที่ประเสริฐดีที่สุด



อ้างอิง             



              นางสาวอาวิษฎา  เกียไพโรจน์  เลขที่ 42                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น