หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ไข่มุกอันดามันสวรรค์เมืองใต้



ไข่มุกอันดามันสวรรค์เมืองใต้
               
               ภูเก็ตเมืองลือชื่อเรื่องทะเลที่สวยงามผู้คนใจดีถิ่นไข่มุกอันดามันเปรียบดั้งสวรรค์ของคนภาคใต้ด้วยทรัพยากรธรรมชาติอันหลากหลายทั้งป่าดิบชื่น ป่าชายเลน หาดทรายขาวสะอาด น้ำทะเลใสสีคราม ใต้ท้องทะเลมีแนวปะการังสวยงาม หาดทรายขาวเนียนละเอียดดุจผืนผ้าใบสีขาวยาวแสงสีทองของดวงอาทิตย์ทราบทาจึงมองเห็นดุจหาดทรายสีทอง

            ประวัติความเป็นมาของภูเก็ต มีหลายกระแส บ้างก็ว่าภูเก็ตเป็นเกาะ ที่ค้นพบโดยชาวประมง แต่เดิมเรียกว่า บูกิตซึ่งเป็นภาษามลายูแปลว่าภูเขา เพราะเมื่อมองจากทะเล จะเห็นเหมือนมีภูเขา โผล่ขึ้นกลางน้ำ แต่บางกระแส ก็ว่าภูเก็ตมาจากคำว่า ภูเก็จแปลว่าภูเขาที่มีค่า ซึ่งคำว่าภูเก็จนี้มีบันทึก ในเอกสารเมืองถลางว่า ใช้กันมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2328 มีฐานะเป็นเมือง ที่ขึ้นตรงต่อเมืองถลาง ซึ่งต่อมาคำนี้ได้เปลี่ยนเป็น ภูเก็ตโดยไม่ทราบสาเหตุ ดังมีปรากฏอยู่ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2450 เป็นต้นมา โดยเริ่มเป็นที่รู้จักกัน ในฐานะ มณฑลภูเก็ต ในสมัยรัชกาลที่ 5 และเปลี่ยนมาเป็น จังหวัดภูเก็ต ในเวลาต่อมา
    
  ไข่มุกอันดามันสวรรค์เมืองใต้ ด้วยทรัพยากรธรรมชาติอันหลากหลายทั้งป่าดิบชื่น ป่าชายเลน หาดทรายขาวสะอาด น้ำทะเลใสสีคราม ใต้ท้องทะเลมีแนวปะการังสวยงาม ภูเก็ตจึงได้รับขนานนามให้เป็นแดนสวรรค์
        หาดทรายสีทอง หากมองจากเบื้องบนดั่งสายตานก จะเห็นชายหาดทางทิศตะวันตกของเกาะภูเก็ตเว้าแหว่งเป็นเสี่ยวจันทร์ โดยมีขุนเขาเขียวขจีปิดหัวท้ายของหาดบางหาด เช่นหาดป่าตองหาดกระรนซึ่งมีความยาวนับหลายกิโลเมตร ทั้งยังเป็นหาดทรายขาวเนียนละเอียดดุจผืนผ้าใบสีขาวยาวแสงสีทองของดวงอาทิตย์ทราบทาจึงมองเห็นดุจหาดทรายสีทอง
         สองวีรสตรีศึกระหว่างไทยกับพม่าในสมัยรัตนโกสินทร์ครั้งใดก็ไม่ยิ่งใหญ่เท่าครั้งสงครามเก้าทับที่เกิดขึ้นในสมัยราชการที่1พม่ายกทัพเข้ามาทุกทิศทุกทางมากถึงเก้าทัพไม่เว้นแม้แต่ด้านเมืองถลางพระยาพิมลเจ้าเมืองถึงแก่อนิจกรรม คุณหญิงจันภิรยาและคุณมุกน้องสาวจึงรวบรวมชาวเมืองขึ้นต้านทัพพม่าจนเป็นผลสำเร็จ
    บารมีหลวงพ่อแช่ม ปี พ.ศ. 2419 ในสมัยรัชกาลที่5 เมื่อราคาดีบุกตกต่ำนายเหมืองไม่ยอมจ่ายค่าแรงแก่คนงานชาวจีน คนงานเหล่านี้จึงรวมตัวกันจัดตั้งเป็นอั้งยี่ ปล้นฆ่าชาวบ้านหลวงพ่อแช่มแห่งวัดฉลองเป็นผู้นำและปลุกขวัญกำลังใจให้ชาวบ้านลุกขึ้นสู้กับอั้งยี่จนได้รับชัยชนะ
“สุดยอด” ในภูเก็ต
        “ร่วมถือศีลในประเพณีกินผัก” นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาภูเก็ตช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค. จะได้เข้าร่วมพิธีถือศีลกินผักที่ชาวภูเก็ตถือปฏิบัติมานานนับร้อยปี อุปมากันว่าเป็นช่วงเวลาที่เกาะภูเก็ตจะขาวโพลนด้วยการนุ่งขาวห่มขาวของผู้คนและหมอกควันรูปเทียนที่จุดบูชาเจ้าตามหรือศาลเจ้าที่มีอยู่มากมายหลาวแห่ง
         “ชมอาทิตย์ลับฟ้า ณ แหลงพรหมเทพ” พระอาทิตย์ตกยามเย็นของทุกวันแต่ที่แหลมพรหมเทพคุณจะได้เห็นห้วงเวลาที่ดวงตะวันค่อยๆลับผืนน้ำไปอย่างสงบงสบแสนตรึงใจ
         “วันสบายๆในที่พักริมหาดแสนสวย” ชายหาดด้านตะวันตกจากเหนือจดใต้ของเกาะภูเก็ตนั่นแสนงามสุดโรแมนติกเกินคำบรรยายเพียงคุณหาที่พักตามรสนิยมริมหาดสักแห่งนอนพักผ่อนกินลมชมวิว ก็นับเป็นสุดยอดของการมาเยือนภูเก็ตแล้ว
            “ท่องโลกใต้ทะเล” มาเที่ยวภูเก็ตทั้งทีต้องหาเวลาไปดำน้ำดูปะการังถ้าชอบดำน้ำตื้นต้องไปที่เกาะราชาใหญ่และเกาะเฮหากชอบดำน้ำลึกให้ไปที่เกาะราชาน้อยโลกใต้ทะเลบริเวณเกาะเหล่งนี้ไม่แพ้ที่ใดในเรื่องความงดงาม
             “สำรวจป่าดงดิบ แหล่งปาล์มหลังขาวแห่งแรกของโลก” ป่าดิบชื้นผืนสุดท้ายของเกาะภูเก็ตอย่างป่าเขาพระเทว อุดมสมบูรณ์ด้วยนกและพืชพรรณทั้งยังเป็นแหล่งพบป่าลมกลังขาวครั้งแรกของโลกด้วย
              “สวรรค์ของคนรักพิพิธภัณฑ์” บนเกาะภูเก็ตมีพิพิธภัณฑ์หลายแห่งพิพิธภัณฑ์เปลือกหอยใกล้หาดราไวย์จัดแสดงเปลือกหอยที่มีอายุยาวนานและไข่มุกสีทองหนักถึง 140 กะรัตที่พบในมะเลของภูเก็ต พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัวในตัวเมืองภูเก็ตจัดแสดงเรื่องราวของชาวจีนฮกเกี้ยน
               “ย่านตึกเก่า” เมื่อเข้าสู่เขตเทศบาลนครภูเก็ตสิ่งแรกที่สะดุดตาไปเยือนคือตึกเก่าที่ตั้งกระหง่านอยู่ในย่านการค้าเก่าของเมืองตึกเหล่านี้มีอายุนับร้อยปีลีลักษณะสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานศิลปะตะวันตกและตะวันออกได้อย่างกลมกลืนเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของเมืองภูเก็ต
                “พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว” เดิมเป็นโรงเรียนสอนภาษาจีนแห่งแรกในภูเก็ตบรรพบุรุษชาวจีนฮกเกี้ยนที่อพยพมาอยู่ที่นี้ได้ร่วมกันตั้งขึ้นหลังจากปล่อยให้อาคารเรียนซึ่งมีสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียลทิ้งร้านมาระยะหนึ่ง จึงมีการจัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ของชาวจีนฮกเกี้ยน
                “ศาลเจ้าแสงธรรม” เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ของภูเก็ตอายุนับร้อยปีนอกจากมีภาพเขียนเก่าแก่แล้วศาลเจ้าแห่งนี้ยังสะท้อนให้เห็นการอพยพเข้ามาเป็นสายตระกูลของคนจีนฮกเกี้ยน
                  “เขารัง” เดิมชื่อว่า “เขาหลัง”เปรียบเป็นหลังบ้านหรือหลังเมืองของภูเก็ตเนื่องจากเป็นเขาเตี้ยๆหลังตัวเมืองภูเก็ตทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ปัจจุบันเป็นสวนสาธารณะที่พักผ่อนหย่อนใจและสวนสุขภาพของคนภูเก็ตรวมถึงเป็นจุดชมทิวทัศน์ตัวเมืองด้วย
               “อนุสาวรีย์หลัก 60 ปีและสะพานหิน” อนุสาวรีย์หลัก60ปีตั้งอยู่บริเวณสวนสะพานหินซึ่งเป็นสวนสาธารณะและที่พักผ่อนหย่อนใจของคนภูเก็ตรูปลักษณ์ของอนุสาวรีย์จำลองจากกระเชอขุดแร่
            “ศาลเจ้ากระทู้” เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของประเพณีกินผักหรือกินเจ แต่ละคืนชาวจีนจะมาชุมนุมประกอบพิธีกรรมกันที่นี้ในศาลมีรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมซึ่งเป็นที่เคารพของคนจีน
            “พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต” พิพิธภัณฑ์อยู่ภายในอาคารขนาดใหญ่ที่ตกแต่งด้วยสถาปัตยกรรม ชิโน-โปรตุกิส จัดแสดงเรื่องราวความเป็นมาของชาวจีนฮกเกี้ยนการทำเหมืองแร่แบบต่างๆพร้อมหุ่นจำลองที่เหมือนจริง
            “หาดป่าตอง” เป็นหาดที่สวยที่สุดในภูเก็ตมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกเมื่อเอ่ยถึงทะเลภูเก็ตหลายคนมักนึกถึงหาดป่าตองเป็นแห่งแรกนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวต่างชาติต่างมุ่งมาเที่ยวป่าตองที่นี้จึงพร้อมพรั่งด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งศูนย์รวมธุรกิจและความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ
          “หาดกะรน” หาดนี้มีเนินทรายเป็นแนวยาวปกคลุมด้วยเถาผักบุ้งทะเลเขียวสดดูละลานตาจนเป็นเอกลักษณ์ของหาดทางเทศบาลจัดทำสะพานไม้ให้เกินลงหาดเป็นระยะๆเพื่อนักท่องเที่ยวจะได้ไม่เหยียบย่ำบนเถาผักบุ้งทะเล
           “จุดชมทิวทัศน์สามอ่าว” เป็นจุดชมทิวทัศน์ยอดนิยมเช่นเดียวกับแหลมพรมเทพนักท่องเที่ยวมักมาแวะชมทิวทัศน์ที่นี่ก่อนไปชมพระอาทิตย์ตกที่แหลมพรมเทพการชมท้องทะเลจากมุมสูงให้อารมณ์และบรรยากาศต่างกับการชมบริเวณหน้าหาดมากทีเดียว
          “หาดในหาน”เป็นชายหาดที่อยู่ทางด้านใต้ของภูเก็ตจุดเด่นของหาดคือมีเรือยอชด์จำนวนมากจากทั่วโลกมาจอดพักที่นี้จนกลายเป็นแหล่งชุมเรือยอชต์ชื่อโรงแรมบนหาดนี้ก็มีความหมายเกี่ยวข้องกับเรือยอชต์
          “แหลมพรหมเทพ” เดิมชื่อว่าแหลมเจ้าเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามเลื้อนแน่นด้วยผู้คนดินนั่นหากมีเวลานักท่องเที่ยวน่าจะไปเที่ยวชมในวันธรรมดาได้
        “หาดราไวย์” เป็นที่เที่ยวที่คนไทยมักแวะไปกันแม้ชายหาดจะเล่นน้ำไม่ได้แต่ก็มีเพิงขายของกินให้เลือกมากมายริมกาดเป็นที่เหมาเรือเที่ยวเช่นเดียวกับบริเวณอ่าวฉลองแต่มีเรือจำนวนน้อยกว่าเส้นทางที่จะเดินทางมายังหาดเป็นเส้นทางที่สวยงามยามรถวิ่งผ่านจะมองเห็นแนวหาดมีมะพร้าวขึ้นเป็นกลุ่มบางช่วงทางตัดลึกเข้าไปในแผ่นดิน แต่ก็ออกมาเลียบริมทะเลอีกครั้ง
          “วัดฉลอง” เมื่อเอ่ยถึงวัดฉลองคนทั่วไปมักถึงหลวงพ่อแช่มพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในสมัยรัชกาลที่5ซึ่งเคยเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้และเป็นขวัญกำลังใจให้ชาวบ้านปราบกบฎอั้งยี่ได้สำเร็จแม้ท่านจะมรณภาพไปนานแล้วแต่ผู้คนจะมีก็ยังเลื้อมใสศรัทธาและระลึกถึงเกียรติคุณของท่านในแต่ละวันจะมีนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและชาวต่างชาติโดยเฉพาะคนจีนจากปีนังมาเลเซียและสิงคโปร์มานมัสการรูปหล่อของท่านเป็นจำนวนมาก

สุดยอดที่กินในภูเก็ต
1.โอชารส ภูเก็ต  ร้านกาแฟเก่าแก่ที่เปิดคู่กับเมืองภูเก็ตมานานกว่า 32 ปี ลักษณะร้านเป็นร้านห้องแถว 2 ชั้น โดยร้านโอชารสตั้งอยู่บนถนนเยาวราช ร้านอยู่ระหว่างถนนถลางและถนนดีบุก ตัดกับถนนเยาวราช เป็นร้านก๋วยเตี๋ยวเนื้อ ร้านนี้มีดีที่ลูกชิ้นเนื้อที่ทางร้านผลิตเองทุกขั้นตอน ส่วนเมนูก๋วยเตี๋ยวมีให้ได้เลือกลิ้มรสทั้งน้ำ และแห้ง ที่รับรองรสชาติจะไม่ทำให้ไม่ผิดหวังแน่นอน

2. ดีบุก ภูเก็ต   เป็นร้านอาการตั้งอยู่ในเมืองเก่าบริเวณตึกแถวรุ่นเก่าแบบชิโนโปรตุกีส ตกแต่งได้อย่างมีสไตล์ด้วยเฟอร์นิเจอร์หวายนั่งสบาย และมีสวนเล็กๆ รับลมเย็นตามธรรมชาติ บรรยากาศภายในร้านชวนให้โรแมนติกในแบบผสมผสานระหว่างตะวันออกและตะวันตกได้อย่างกลมกลืน อบอุ่นภายใต้แสงเทียนแสนคลาสสิค มีโต๊ะให้นั่งหลายมุมด้วยกัน ส่วนเมนูอาหารที่นี่ผสมผสานอย่างลงตัว ระหว่างรสชาติอาหารไทยกับฝรั่งเศส แถมมีไวน์ชั้นดีรสนุ่มให้เลือกชิมมากมาย 

3. ลกเที้ยน ภูเก็ต   เป็นร้านอาหารที่ผสมสองวัฒนธรรมระหว่างคนพื้นเมืองดั้งเดิมและชาวจีนที่อพยพมา โดยเฉพาะในแบบลกเที้ยน ที่นี่จึงรวมเอาอาหารท้องถิ่นสารพัดรายการมาไว้ในที่เดียวกัน ทั้งหมี่หุ้น โลบะ โอ๋เอ๋ว ฯลฯ จานเด่นคือ หมี่ฮกเกี้ยน ที่ใช้เส้นหมี่ขนาดใหญ่กว่าบะหมี่เหลืองทั่วไปมาผัดกับอาหารทะเล จัดว่าเป็นจานอร่อยที่สะท้อนเอกลักษณ์ของอาหารภูเก็ตได้อย่างดี
 อ้างอิง                        



          นางสาวพนิดา  เทพดำ  เลขที่ 34

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น