ออง ซาน ซู จี บนกระดานการเมืองโลก
ออง ซาน ซู จีมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมาเนิ่นนานเต็มที
จนถูกผู้คนลืมเลือนที่จะตั้งคำถามแล้วว่า “เธอคือใคร” , “มีความเป็นมาอย่างไร”
เพราะเหตุใดจึงเป็นที่รักของชาวพม่าและเป็นที่จงเกลียดจงชังของรัฐบาลพม่ายิ่งนัก
ทุกคนมักคุ้นหูกันว่า ออง ซาน ซู จีคือผู้นำทางการเมืองคนสำคัญในพม่า
คือหัวหน้าพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยและในเวลาเดียวกันก็เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณเพียงผู้เดียวที่พม่าทั้งชาติมีอยู่ในเวลานี้
ออง ซาน ซู จีได้รับรางวัลอันทรงเกียรติมากมายในระดับนานาชาติ
รวมถึงรางวัลเชิดชูเกียรติสูงส่งอย่างรางวัลโนเบล สาชาสันติภาพ
ในฐานะผู้ที่ยึดมั่นถือมั่นในการต่อสู้เพื่อสันติภาพและการเสมอภาคของผู้คนโดยอาศัยเพียงสันติวิธีและอหิงสาธรรมได้รับความยอมรับจากนักเคลื่อนไหวทั่วโลกว่าเด็ดเดี่ยวและมั่นคงอย่างยิ่งในการต่อสู้ตามแนวทางของตนเอง
แต่อย่างเดียวที่ออง ซาน ซู
จีได้รับเครื่องตอบแทนจากผู้ปกครองประเทศของตนเองก็คือการจองจำและการพันธนาการด้วยสารพัดวิธีเรื่อยมา
๑.) วัยเยาว์ของออง ซาน ซู จี
ความทรงจำเมื่อวัยเยาว์ของคนเรามักถูกลืมเลือนอยู่บ่อยครั้ง แม้ว่าในความเป็นจริงแล้ว
วัยเยาว์เต็มไปด้วยเรื่องราวที่หล่อหลอมความเป็นตัวตนของทุกผู้คน
เรื่องราวที่ทรงอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อวิธีคิดและวิธีการดำรงตนในอนาคต
วัยเยาว์ของออง ซาน ซู จีแม้เต็มไปด้วยความสูญเสีย
แต่ก็ถือช่วงเวลาที่สดใสที่สุดเท่าที่บังเกิดต่อเธอนับเนื่องจนถึงเวลานี้
การถือกำเนิดในครอบครัวของนักต่อสู้เพื่ออิสรภาพของพม่าในยามที่ทุกอย่างกำลังจะเข้าที่เข้าทาง
ผู้เป็นบิดาซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ที่ได้รับการยกย่องและเคารพนับถือสูงสุดในประเทศในเวลานั้น
ต้องถือว่าเป็นชะตากรรมที่ดีที่สุดเท่าที่สามารถจะมีได้
ออง ซาน
ซู จีเคยให้สัมภาษณ์เอาไว้ว่า
มีเหตูการณ์๓เหตุการณ์ที่จำหลักอยู่ในความทรงจำและมีอิทธิพลอย่างล้นเหลือต่อชีวิตของเธอในเวลาต่อมา
ทั้ง๓เหตุการณ์เป็นการสูญเสียครั้งสำคัญ๓ครั้งแรกในชีวิต
หนึ่งคือการสูญเสียผู้เป็นบิดาจากเหตุการณ์ลอบสังหารเมื่อปี ค.ศ.๑๙๔๘
ถัดมาคือการสูญเสียพี่ชายคนรองจากเหตุการณ์เกิดอุบัติเหตุจมน้ำ สุดท้ายคือ
การสูญเสียประชาธิปไตยครั้งแรกของพม่า เมื่อนายเน วิน ผู้บัญชาการทหารในเวลานั้นนำกำลังเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลประชาธิปไตยของนายกรัฐมนตรีอู
นุ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเธออายุได้เพียง๑๕ปี
๒.)ออง ซาน ซู จีเดินตามรอยพ่อ
ออง ซาน ซู
จีให้สัมภาษณ์หลายต่อหลายครั้งว่าตอนตัดสินใจเดินทางกลับประเทศนั้น
เธอไม่เคยมีความก้าวเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการเมืองหรือแม้แต่จะกลายเป็นผู้นำของขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
เธอเพียงกลับมาเพื่อให้ได้มีโอกาสดูแลรักษา ดอว์ ขิ่น
จีผู้เป็นมารดาที่กำลังป่วยหนักเท่านั้นเอง
ซู
จีได้อธิบายไว้ด้วยว่า
เมื่อเดินทางมาถึงย่างกุ้งแล้วนั่นถึงได้เข้าใจในความหมายที่แท้จริงของคำกล่าวที่ผู้เป็นบิดาเคยกล่าวเอาไว้
“ข้อได้เปรียบของการเป็นส่วนหนึ่งของพรรคการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยก็คือ
คุณไม่จำเป็นต้องตระเตรียมอะไรให้กับตนเองมากมายในฐานะปัจเจกบุคคลเพื่อรับภาระรับผิดชอบดังกล่าวนั้น
เนื่องจากคุณไม่ได้ต้องการที่จะเผด็จการ คุณจะทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของทีม
ถึงแม้ว่าออง ซานจะสิ้นชีวิตไปแล้ว
อิสรภาพซึ่งท่านอุทิศทั้งชีวิตให้กับมันในที่สุดก็มาถึงประเทศอันเป็นที่รักของท่าน”
๓.)ชีวิตต้องสาป
การกักบริเวณของออง ซาน ซู จีสลอร์คได้ใช้ข้ออ้างต่างๆนานาแตกต่างกันออกไป
แล้วแต่สถานการณ์จะช่วยให้หยิบฉวยอะไรขึ้นมาเป็นข้ออ้างหรือการกล่าวหาได้
จนทำให้บางครั้งเหตุผลในการกักซู จีไว้แต่ภายในบ้านพักฟังดูน่าหัวร่อ เช่น
“เพื่ออารักขา อำนวยความปลอดภัยให้เธอ” หรือ “เพื่อป้องกันไม่ให้เธอตกเป็นเหยื่อ
เป็นหุ้นเชิดให้กับผู้ที่ไม่หวังดีกับประเทศชาติ ใช้เป็นเครื่องมือในการโค่นล้มรัฐบาล”
กระนั้นโดยข้อเท็จจริงก็คือ ออง ซาน ซู จีจะ๔กควบคุมตัวทุกครั้งเมื่อ “สลอร์ค”
เห็นว่าไม่สามารถควบคุมเธอหรือพรรคเอ็นแอลดีหรือกลุ่มผู้สนับสนุนเธอให้อยู่ในแนวทางหรือเคลื่อนไหวอยู่ในระดับที่ต้องการได้
เช่นเดียวกัน การตีความเรื่องการปล่อยตัวของออง ซาน ซู จีให้ “เป็นอิสระ”
ก็ผิดแผกแตกต่างกันออดไปแล้วแต่กรณี
และบ่อยครั้งที่ถูกนำกลับมาเป็นข้ออ้างในการจับกุมหรือกักบริเวณครั้งใหม่
๔.)ชะตากรรมของออง ซาน ซู จี
อย่างไรก็ตามในแวดวงนายทหารระดับสูงของพม่าที่ประกอบขึ้นเป็น สลอร์ค ในอดีต
หรือ เอสพีดีซี ในปัจจุบันชื่อของออง ซาน ซู
จีจะถูกเลี่ยงไม่ค่อยเอยถึงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
โดยเฉพาะใช้ชื่อของเธออย่างเป็นทางการในยามจำเป็นเท่านั้น
ออง ซาน ซู
จีในทัศนะของเอสพีดีซีนั้นเป็นได้ทุกอย่างที่เป็นตัวแทนความเลวร้ายของประเทศ
“เอสพีดีซี” เคยสร้างภาพของซู จีไว้กับประชาชนชาวพม่าและสายตาของชาวโลกว่า
เธอคือตัวแทนของ “จักรวรรดินิยมล่าอาณานิคมยุคใหม่” เหตุผลที่ขิ่น
ยุ้นต์ใช้รองรับขอกล่าวหน้าดังกล่าวก็คือ การชี้ให้เห็นว่าออง ซาน ซู
จีไม่เพียงเติบโตยาวนานกว่า๒๐ปีในซีกโลกตะวันตก แต่งงานมีครอบครัว
และใช้ชีวิตอยู่ในอังกฤษ
แล้วจู่ๆก็กลับเข้ามาสร้างความวุ่นวายทางการเมืองให้เกิดขึ้นไม่หยุดหย่อน
ออง ซาน ซู
จีอาจจะเป็นผู้หญิงตัวเล็กๆที่เลือกจะต่อสู้กับชนชั้นปกครองและกำลังทหารทั้งกองทัพ
ด้วยสองมือเปล่าและอุดมการณ์อย่างแน่วแน่ เธอยอมแลกอิสรภาพของตนเอง
เพื่อหวังว่าสักวันแผ่นดินเกิดของเธอจะมีสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคในหมู่ประชาชนชาวพม่าตามหลักการของระบอบการปกครองประชาธิปไตย
ในขณะที่พม่าเองยังเต็มไปด้วยการเอารัดเอาเปรียบของชนชั้นปกครองและด้วยอุดมการณ์
ด้วยศรัทธาที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงของเธอ ทำให้ผู้หญิงคนนี้ถูกกล่าวถึงการต่อสู้ของเธออยู่เสมอ
นี้คือวิถีของออง ซาน ซู จี ผู้เป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อต้านการกดขี่โดยสันติ
อ้างอิง
นางสาวฐิตินันท์ สามแก้ว เลขที่ 24
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น