จับจิต
ทุกวันนี้จิตวิทยามีบทบาทในชีวิตเรามากขึ้นเรื่อยๆ
เรามักเห็นแง่มุมทางจิตวิทยาปรากฏอยู่รอบๆตัว ไม่ว่าจะเป็นสื่อต่างๆ เช่น ละคร
ภาพยนตร์ นวนิยาย ฯลฯ เพราะ จิตวิทยาเป็นศาสตร์เบื้องต้นที่ช่วยให้เราเข้าใจ
และช่วยอธิบายถึงพฤติกรรมของมนุษย์
ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุของความกลัวสิ่งต่างๆเป็นพิเศษ จิตใต้สำนึกของมนุษย์
หรือแม้กระทั่งการแสดงออกของแต่ละบุคคล เป็นต้น ด้วยเหตุนี้
จิตวิทยาจึงเป็นศาสตร์อันดับต้นๆที่ผู้คนให้ความสนใจและศึกษากันอย่างกว้างขวาง
จิตวิทยา (
Psychology )
คือศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ
กระบวนการความคิด และพฤติกรรมมนุษย์ ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
มนุษย์กับสังคม
เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม
เพราะนับตั้งแต่วันแรกที่ลืมตาขึ้นดูโลกจนวันสุดท้ายของชีวิต
มนุษย์มักไม่ได้อยู่คนเดียว อาจจะเป็น ครอบครัว เพื่อน คนอื่นๆ สถาบัน
องค์กรฯ ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์เราเสมอ
การปรับตัว
การปรับตัวที่เหมาะสมต้องเป็นการปรับตัวที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
หรือไปสกัดกั้น เสรีภาพ และอิสรภาพของผู้อื่น
อารมณ์
เราทุกคน “อารมณ์” เป็นอย่างดี
ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์สุข เศร้า หรือกลัว
เราต่างก็ต้องเผชิญกับภาวะอารมณ์เหล่านี้ตั้งแต่เกิดจนตาย
แม้บางอารมณ์จะเป็นสิ่งไม่พึงปรารถนา แต่เราก็อยู่อย่างไร้อารมณ์ไม่ได้
อารมณ์มีความสำคัญต่อชีวิตจิตใจเช่นเดียวกับอาหารที่มีความสำคัญต่อร่างกาย
แรงจูงใจ
แรงจูงใจ
เป็นกระบวนการที่กระตุ้นและผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมต่างๆ
แรงจูงใจจึงเป็นกระบวนการการสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการแสดงออกและการดำเนินชีวิต
การจำและการลืม
การจำและการคิดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างมาก
เพราะช่วยในพฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์ด้วย
ลองคิดดูว่าถ้าเราจำอะไรที่ผ่านเข้ามาในชีวิตไม่ได้เลยเราจะมีสภาพเป็นอย่างไร
คงพูดไม่ได้ หรือไปแล้วก็หาทางกลับบ้านไม่ถูก
ภาวะการรู้สึกตัว
การรู้สึกตัวจะมากหรือน้อยนั้นมักขึ้นอยู่กับจำนวนหรือระดับของสิ่งเร้าที่มากระทบประสาทสัมผัส
ถ้าปริมาณสิ่งเร้ามากระทบน้อยมาก เช่น เมื่อเวลาเราหลับทุกอย่างก็ดูเงียบ
ประสาทรับสัมผัสจะไม่ตื่นตัวเหมือนในช่วงเวลากลางวันที่ทำทุกอย่างดูสับสนวุ่นวาย
ยิ่งเราอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีตัวกระตุ้นเข้ามามากๆ
หรือมีวิถีชีวิตที่เร่งเร้าตลอดเวลา การตื่นตัวของปราณมีสูง
การรู้สึกก็สูงตามไปด้วย
และถ้าสิ่งเร้าที่เข้ามามีปริมาณสูงมากอยู่ตลอดเวลาก็อาจทำให้ประสาทต้องตื่นตัวตลอด
ร่างกาย และจิตใจต้องเตรียมพร้อมและเครียดได้ง่าย
การสัมผัสและการรับรู้
“สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น
สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ” คำกล่าวนี้ดูจะแสดงให้เห็นถึงวามสำคัญของการสัมผัสในรูปแบบต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น
และกายสัมผัสว่ามีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์อย่างไร
การพัฒนามนุษย์พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมจะร่วมกันมีบทบาทในการพัฒนาการด้านต่างๆของยุคคลอันจะมีผลต่อเนื่องในการกำหนดบุคลิกภาพของบุคคลด้วย
แนวทางการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
เนื่องจากมนุษย์ต้องอยู่ในสังคม
จึงไม่อาจหลีกเลี่ยงอิทธิพลทางสังคม หรือการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมได้ การศึกษาพฤติกรรมต่างๆในสังคมที่มนุษย์ปฏิบัติต่อกันหรือมีอิทธิพลต่อกันจึงเป็นสิ่งจำเป็น
เพราะจะทำให้เข้าใจตนเองและเข้าใจผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น
ดังนั้น
ผู้ศึกษาวิชาจิตวิทยาสามารถนำเอาความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวและสถานที่ทำงาน ตลอดจนการประกอบอาชีพต่างๆ
ทั้งนี้เพราะหลักการทางจิตวิทยาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับงานต่างๆมากมาย
อ้างอิง
นางสาวญาณิศา ขุนนาม เลขที่ 5
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น