แอดมิชชั่น
เคล็ดไม่ลับ
ระบบกลางการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
โดยการคัดเลือกบนพื้นฐานของผลการศึกษา นั่นคือ “แอดมิชชั่น”
แอดมิชชั่นเป็นระบบในรอบสุดท้ายที่เปิดโอกาสให้
สามารถเลือกอันดับมหาวิทยาลัยและคณะที่ใฝ่ฝันได้ 4 อันดับ
เป็นเรื่องที่สนใจและติดตามเป็นอย่างมาก เพราะทุกคะแนนมีความหมายทั้งหมด
จึงทำให้ผู้เรียนเห็นถึงความสำคัญกับทุกคะแนน
วิชาไหนที่ผู้เรียนสนใจและถนัดก็จะช่วยดึงเกรดเฉลี่ยให้ดีขึ้น
ส่วนวิชาไหนที่มีปัญหาหรือไม่ถนัด ผู้เรียนก็จะใส่ใจพยายามแก้ไข เพื่อคะแนนที่ได้มาช่วยค่า
GPA ให้สูงขึ้น
Top 5 มหาวิทยาลัยที่ใฝ่ฝัน
1.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
4.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5.
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Top 5 คณะสำหรับสายศิลป์
1. คณะนิติศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษากฎเกณฑ์ความประพฤติ
ของบุคคลที่อยู่ร่วมกันในสังคมประเภท หนึ่งที่มีผลบังคับแน่นอน
ซึ่งเรียกกันว่ากฎหมาย
2. คณะอักษรศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการเสริมสร้างและพัฒนาจิตใจประชากรโดยส่วนรวม
กล่าวคือ พยายามทำให้เข้าใจตนเอง
ผู้อื่น สังคม และสภาพแวดล้อม รู้ซึ้งถึงคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรม
มีจิตใจละเอียดอ่อนมีวิจารณญาณ
3. ครุศาสตร์
เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการจัดการศึกษาและวิชาชีพครู
โดยมีจุดมุ่งหมายในการดำเนินการและแสวงหาวิธีการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
4. คณะเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ (Economics)
เป็นวิชาที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากรซึ่งมีอยู่อย่าง จำกัดให้กับมนุษย์
ซึ่งมีกิเลสตัณหาและความต้องการอย่างไม่มีขีดจำกัด
ศาสตร์นี้จึงให้ความสนใจว่าจะจัดสรรทรัพยากรอะไร (What) อย่างไร
(How) และเพื่อใคร (For Whom) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
5.
คณะนิเทศศาสตร์
นิเศศาสตร์ หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วย ผู้ส่งสาร
สารสื่อ ผู้รับสารการที่จะทำให้การสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพได้นั้นจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพทุกขั้นตอนเพื่อส่งผลให้บรรลุเป้าหมายของการสื่อสารได้
GAT
PAT O-NET 9 วิชาสามัญ GPAX สำคัญอย่างไรกับแต่ละคณะ
GAT (Genetal Aptitude Test) หรือมีชื่อเป็นภาษาไทยสั้น
ๆ ว่า การสอบความถนัดทั่วไป ซึ่งจะเน้นเนื้อหาทางด้าน การอ่าน เขียน
คิดวิเคราะห์การแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์
รวมไปถึงการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษข้อสอบ GAT นี้จะมีความซับซ้อนมากกว่าความยาก
PAT
(Professional Aptitude Test) หรือมีชื่อเป็นภาษาไทยสั้น ๆ ว่า
การสอบความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการเป็นข้อสอบที่ยากที่สุดในสามตัวที่พูดถึง
O-NET
(Ordinary National Education Test) หรือการสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน
9 วิชาสามัญ
คือการสอบตรงเข้าสู่มหาวิทยาลัยโดยใช้ข้อสอบกลาง
แต่ยื่นคะแนนตรงกับมหาวิทยาลัย ใครยังไม่รู้จักระบบการสอบแอดมิชชั่นและการรับตรง
ปีก่อนหน้านี้เจ้าระบบสอบตรงโดยใช้ข้อสอบกลางอันนี้เคยมีชื่อว่า “7 วิชาสามัญ” มาก่อน โดยปีนี้ก็ได้อัพเกรดตัวเอง เพิ่มวิชาเข้ามาสองวิชาคือ
คณิตศาสตร์ของสายศิลป์ และวิทยาศาสตร์พื้นฐานของสายศิลป์
GPAX
หรือผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย
หรือเทียบเท่า
อย่างไรก็ตาม GAT PAT O-NET 9 วิชาสามัญ GPAX
มีความสำคัญกับแต่ละคณะเป็นอย่างมาก
เพราะทุกคะแนนจะส่งยื่นในการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา
ทั้งในการรับตรงและแอดมิชชั่น
วิธีการคำนวณแอดมิชชั่นกลาง
แอดมิชชั่นกลางมีคะแนนรวม 30,000 คะแนน โดยแบ่งแยกได้
ดังนี้
GPAX = 20% = 6,000 คะแนน
GAT = 30% = 9,000 คะแนน
PAT = 20% = 6,000 คะแนน
O-NET = 30% = 9,000 คะแนน
หมายเหตุ: สัดส่วนของแต่ละวิชาสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามแต่ละคณะและมหาวิทยาลัย
จบแล้วแต่ละคณะจะประกอบอาชีพอะไร
1.
ผู้จบการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ อาจแบ่งแนวทางในการทำงานได้ 2 ประเภท
1) ผู้ซึ่งใช้วิชากฎหมายในการประกอบอาชีพโดยตรง
ได้แก่ ผู้พิพากษา อัยการ ที่ปรึกษากฎหมาย ทนายความ นิติกร ฯลฯ
2)
ผู้ซึ่งใช้ความรู้ทางกฎหมายให้เป็นประโยชน์ แก่การประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ เช่น
ตำรวจ ปลัดอำเภอ นักธุรกิจพนักงานบริษัท ห้างร้าน ข้าราชการ
2. ผู้ที่จบการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ บัณฑิตส่วนใหญ่จะมีความรู้ภาษาต่างประเทศในระดับที่ใช้งานได้ดี
ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยที่มีความรู้ภาษาต่างประเทศถึง 2 ภาษา เช่น
เป็นอาจารย์และนักวิชาการ ผู้บริหารสถานศึกษา นักวิจัยเลขานุการ
เจ้าหน้าที่สารนิเทศ เจ้าหน้าที่ต้อนรับในบริษัทการบิน มัคคุเทศก์ ล่าม นักแปล
พนักงานธนาคาร และสถาบันการเงิน นักเขียน นักวิจารณ์ บรรณาธิการ
และผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ นักโฆษณา นักประชาสัมพันธ์
เจ้าหน้าที่งานแผนที่และผังเมือง นักแสดง บรรณารักษ์ และประกอบอาชีพส่วนตัว
เป็นต้น
3.
ผู้ที่จบการศึกษาจากคณะครุศาสตร์ บัณฑิตจากคณะนี้สามารถเลือกประกอบอาชีพได้กว้างขวางทั้งในระบบโรงเรียน
เช่น เป็นครู อาจารย์ในโรงเรียน วิทยาลัยและมหาลิทยาลัย เป็นบุคลากรทางการศึกษา
ทำงานเกี่ยวกับห้องสมุด งานแนะแนว โสตทัศนศึกษา และอื่น ๆ
4. ผู้ที่จบการศึกษาจากคณะเศรษฐศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น บริหารธุรกิจบัณฑิต
(การเงิน) หรือ เศรษฐศาสตรบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์การเงิน) และกำลังมองหางานธนาคาร
งานการเงิน แต่ยังไม่รู้ว่าสามารถทำงานอะไรได้บ้าง ไม่ต้องกังวล
มีงานคุณให้ทำมากมายทั้งงานหลักทรัพย์และวาณิชธนกิจ (Securities and Investment Banking) งานธนาคาร (Banking) งานการเงินของบริษัท (Corporate
Finance) และงานจัดการลงทุน (Fund Management) งานหลักทรัพย์และวาณิชธนกิจ
ส่วนใหญ่ผู้ที่เรียนจบด้านการเงินจะเป็นนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ (Securities
Analyst) และเป็นวาณิชธนากร (Investment Banker) ให้คำแนะนำแก่ลูกค้าในการจัดโครงสร้างทางการเงิน งานธนาคาร (Banking)
5.
ผู้ที่จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ สามารถแบ่งตามสาขาได้ดังนี้
• สาขาวิชาประชาสัมพันธ์ (Public
Relations) เช่น บริษัทห้างร้านต่างๆ องค์กรการกุศล หน่วยงานราชการ
รัฐวิสาหกิจ โรงแรม
• สาขาวารสารศาสตร์สิ่งพิมพ์
(Print Journalism) จบไปจะเป็นผู้สื่อข่าวทั้งหนังสือพิมพ์และนิตยสาร
นักเขียนหรือคอลัมน์นิสอิสระ นักออกแบบจัดหน้าสิ่งพิมพ์
• สาขาวารสารศาสตร์เพื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
(Broadcasting Journalism) ก็สามารถทำงานเป็น นักข่าว
ผู้ประกาศข่าว นักเขียนบทสารคดี
ดูแลเนื้อหาหรือข่าวสารที่ส่งผ่านสื่อวิทยุหรือโทรทัศน์ และออนไลน์
• สาขาการโฆษณาเชิงสร้างสรรค์
(Creative Advertising) มีความสามารถทางภาษาอย่างสร้างสรรค์
งานคลีเอทีพคือเป้าหมายของสาขานี้
• สาขาการโฆษณาเชิงกลยุทธ์ (Strategic
Advertising) จบแล้วสามารถทำงานด้านบริหารงานลูกค้า
ฝ่ายวางแผนสื่อโฆษณา
• สาขาการแสดงและกำกับการแสดง
(Acting/Directing) สำหรับคนที่ชอบการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์
อาทิ แสดง ร้องเพลง เต้นรำ กำกับ ออกแบบเสื้อผ้า และฉาก
• สาขาเขียนบท (Script
Writing) เช่น นักแสดง กำกับการแสดง ผู้เขียนบท ผู้กำกับเวที
ธุรกิจกองถ่าย ฝ่ายเสื้อผ้าและฉาก เป็นต้น
• สาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (Broadcasting
/Radio & TV) จบแล้วสามารถทำงานทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังของงานวิทยุและโทรทัศน์
• สาขาภาพยนตร์ (Film)
จบแล้วสามารถทำงานผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้กำกับศิลป์ ถ่ายภาพ ตัดต่อ
เทคนิคพิเศษต่างๆ ผู้อำนวยการสร้าง ผู้ประสานงาน และนักเขียนนักวิจารณ์ภาพยนตร์
ฯลฯ
• สาขาการสื่อสารแบรนด์ (Brand
Communications) จบแล้วสามารถทำงานในด้านการจัดกิจกรรมด้านการสื่อสารแบรนด์
นักออกแบบและสร้างสรรค์สื่อ นักสื่อสารการตลาด นักวางแผนการตลาด นักวางแผน
รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาขององค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชน
ถ้าแอดไม่ติด
คุณจะทำอย่างไร
มหาวิทยาลัยรัฐบาลที่เปิดรอบ 2 ว่าคณะไหนใกล้เคียงกับความถนัดของผู้เรียน
ตอนนี้อย่าพึ่งยึดติดกับมหาวิทยาลัย เพราะไม่ว่าจะศึกษาที่ไหน
ถ้าผู้เรียนขยันก็จบการศึกษาเหมือนกัน มหาวิทยาลัยเอกชน แต่ค่าเทอมค่อนข้างสูง
ถ้ายื่นมหาวิทยาลัยรัฐบาลที่เปิดรอบ 2 มหาวิทยาลัยเอกชน
ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ศึกษาต่อต่างประเทศและดรอปเรียน
แอดมิชชั่น เคล็ดไม่ลับ ก็คือเคล็ดลับดีๆ
ที่สามารถแนะนำต่อๆกันได้เกี่ยวกับระบบแอดมิชชั่นกลาง
ทุกคะแนนที่ใช้ในระบบแอดมิชชั่นกลาง มาจาก GAT, PAT, O-NET, 9 วิชาสามัญ และ GPAX สัดส่วนอาจจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละคณะและมหาวิทยาลัย
เคล็ดไม่ลับต่างๆ มีดังนี้
GAT และ O-NET มีวิธีการจะทำให้ได้คะแนนสูงๆ
โดยการสืบค้นข้อมูลและข้อสอบ GAT และ O-NET ในระยะเวลา 5 ปีการศึกษาที่ผ่านมา
โดยการคัดเลือกข้อสอบมาปีการศึกษาละ 20 ข้อ หลังจากนั้น
ฝึกทำข้อสอบจาก 5 ชุดนั้น ถ้าตอบผิด 1 ข้อ
ก็ให้เริ่มทำข้อสอบใหม่ตั้งแต่ข้อ 1
PAT เป็นความถนัดของแต่ละบุคคล
สำหรับทุกๆ PAT จะต้องแบ่งเวลาในการอ่านหนังสือ
แต่สำหรับการเลือกสอบใน PAT 7 ถ้าไม่ถนัดด้านภาษาต่างประเทศ
แนะนำให้เลือกสอบภาษาบาลี เพราะเป็นภาษาที่มีข้อสอบเป็นภาษาไทย
9 วิชาสามัญ
ส่วนใหญ่สำหรับสายศิลป์ จะใช้คะแนนจากวิชาภาษาไทย
วิชาสังคมศึกษา และวิชาภาษาอังกฤษ โดยเนื้อหาในการสอบจะเกี่ยวกับความรู้ต่างๆของ
ม.4-6
GPAX คือ
ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม 6 เทอม
เป็นคะแนนที่ผู้เรียนสามารถทำได้ดีที่สุด เพราะสามารถเตรียมความพร้อมได้
โดยการตั้งใจเรียน
เคล็ดไม่ลับทั้งหมดนี้ จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือก
ที่ผู้เรียนสามารถเตรียมความพร้อม เพื่อเผชิญหน้ากับระบบแอดมิชชั่นกลาง
“อนาคตของคุณขึ้นอยู่กับสิ่งที่คุณทำในวันนี้
ไม่ใช่วันพรุ่งนี้”
อ้างอิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น